วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2558

มารยาท ระเบียบ และข้อบังคับในการใช้อินเทอร์เน็ต

1.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่ร เช่น ไม่เผยแพร่ข้อความกล่าวหาบุคคลอื่นให้ได้รับความเสียหาย ไม่เผยแพร่รูปภาพลามกอนาจาร เป็นต้น
2.ต้องไม่ให้คอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของผู้อื่น เช่น การเล่นเกมหรือเปิดเพลงด้วยคอมพิวเตอร์
3.ต้องไท่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต
4.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าว
5.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์คัดลอกหรือใช่โปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต
7.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8.ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นงานของตน
9.ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันเป็นผลมาจากการกระทำของตน
10.ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเครพกฎ ระเบียบ กติกา และมีมารยาทของหน่วยงาน สถาบันหรือสังคมนั้นๆ

สู้เพื่อแม่

วันแม่แห่งชาติ

แต่เดิมนั้น วันแม่แห่งชาติได้กำหนดเอาไว้เมื่อ วันที่ 15 เมษายน ของทุก ๆ ปี ซึ่งเป็นมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรอง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2493 ได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงาน วันแม่ มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2493 เป็นครั้งแรกเป็นต้นมา
ภาพวันแม่
วันแม่แห่งชาติ
จากนั้นได้รับความสำเร็จด้วยดีด้วยประชาชนให้การสนับสนุนจนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างขวางออกไป และมีการจัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การประกวดคำขวัญวันแม่ ประกวดเรียงความวันแม่ การประกวดแม่ของชาติ เพื่อให้เกียรติและตระหนักในความสำคัญของแม่ ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของ รัฐบาลฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม
โดยทั่วไปเรียกกันว่าวันแม่ของชาติ ต่อมา พ.ศ.2519 ทางราชการได้เปลี่ยนแปลงใหม่ให้ถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ 12 สิงหาคม เป็น วันแม่แห่งชาติ เริ่มใน ปี พ.ศ.2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ศรษฐกิจพอเพียง เกษตรแบบผสมผสาน

เศรษฐกิจพอเพียง เกษตรแบบผสมผสาน
 อัปโหลดเมื่อ 17 พ.ค. 2011
เป็นบุคคลตัวอย่าง(ลุงพุฒ ไกรสินธุ์) ที่ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพ­ียง และเป็นบุคคลต้นแบบ ของชุมชนตำบลเหล่าไฮงาม



ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=eomapG3GuOk

หอมแผ่นดิน ตอน...ทวนทางฝัน ๑ ออกอากาศ 5 เมษายน 2558

หอมแผ่นดิน ตอน...ทวนทางฝัน
เผยแพร่เมื่อ 7 เม.ย. 2015
หอมแผ่นดิน ตอน...ทวนทางฝัน ๑ เป็นตอนพิเศษที่ทางรายการพาทุท่านไปรับชมค­วามสำเร็จของเกษตรกร หลังจากออกอากาศไปแล้ว ไปดูความสำเร็จ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของแต่ละท่าน





ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=Z-6RyTShuxs

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558

แนวทางการพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 – 2549) จะยึดหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”เป็นปรัชญานำทางในการพัฒนายึด ทางสายกลาง  อยู่บนพื้นฐานของความสมดุลพอดีและความพอประมาณอย่างมีเหตุผล  นำไปสู่สังคม ที่มีคุณภาพทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง สามารถพึ่งตนเอง มีภูมิคุ้มกันและรู้เท่าทันโลก
“...ให้พอเพียงนี้ก็หมายความว่า มีกินมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้ แต่ว่าพอ แม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือย แต่ถ้าทำให้มีความสุข ถ้าทำได้ก็สมควรที่จะทำ  สมควรที่จะปฏิบัติ อันนี้ก็หมายอีกอย่างของเศรษฐกิจ หรือระบบพอเพียง เมื่อปีที่แล้วตอนที่พูดพอเพียง แปลในใจ แล้วก็ได้พูดออกมาด้วย ว่าจะแปลเป็น Self-sufficiency (พึ่งตนเอง)ถึงได้บอกว่าพอเพียงแก่ตนเอง  แต่ความจริงเศรษฐกิจพอเพียงนี้ กว้างขวางกว่า Self-sufficiency คือ Self-sufficiency นั้นหมายความว่า ผลิตอะไรมีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอซื้อคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง (พึ่งตนเอง) ..เป็นตามที่เขาเรียกว่ายืนบนขาของตัวเอง (ซึ่งแปลว่าพึ่งตนเอง) ..แต่พอเพียงนี้มีความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก คือ คำว่าพอก็เพียงพอ เพียงนี้ก็พอดังนั้นเอง คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกคนมีความคิด “อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ” มีความคิดว่าต้องทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้  แต่ว่าจะต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง...”
                                                                                                                                            พระราชดำรัชในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2541

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า  25  ปี  ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
ความสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง

จากการพัฒนาประเทศให้ทันสมัย  ทัดเทียมกับนานนาอารยประเทศในช่วงเวลาที่ผ่านมา  นับแต่เริ่มนำแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ  ฉบับที่  1  เมื่อ พ.ศ. 2504  เน้นการพัฒนาที่สร้างระบบสาธารณูปโภค  การวางโครงสร้างตามแบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่เน้นการผลิตเพื่อขายทรัพยากรธรรมชาติ  ถูกปรับเป็นปัจจัยเพื่อการผลิต  และป้อนเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมในขณะที่วิถีชีวิตและระบบการผลิตของชุมชนไทย  เป็นลักษณะการผลิตเพื่อสนองความจำเป็นพื้นฐาน  มิได้มุ่งผลิตเพื่อขาย  จึงถูกมองในเชิงวิธีคิดและนโยบายของรัฐว่าล้าหลังและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา จึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแบบแผนการผลิต  และความเป็นอยู่ใหม่ให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนากระแสหลัก  ซึ่งส่งผลต่อวิถีแห่งภูมิปัญญา  แบบแผนการดำรงชีวิต  และการผลิต  ตลอดจนวัฒนธรรมของชุมชนอันหลากหลายให้ไปอยู่ในสังคมทุนนิยม 
     ผลของการพัฒนาประเทศอย่างรีบเร่งนี้  ที่เน้นความสำคัญในส่วนของภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม  จึงเป็นปัจจัยทำให้เกิดช่องว่างทางสังคม  ทั้งในแง่รายได้และโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากร  ยิ่งเวลาผ่านไป ปัญหากลับยิ่งเพิ่มพูนทวีคูณ และซับซ้อนขึ้นเรื่อย ๆ  มีเพียงคนจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นคนจำนวนน้อยของประเทศสามารถเข้าถึงทรัพยากร  และมีโอกาสทางสังคมสูง  สามารถเลื่อนฐานะทางเศรษฐกิจ และสังคมได้อย่างรวดเร็ว  ในขณะเดียวกับคนส่วนใหญ่ที่ยังคงอยู่ในภาคเกษตรกรรมและแรงงานกลับเข้าไม่ถึงปัจจัยการผลิต  และค่าตอบแทนที่เป็นธรรม 
     ฉะนั้น  วิกฤตเศรษฐกิจโดยเฉพาะด้านการเงิน  เมื่อปี พ.ศ. 2540  เป็นภาพสะท้อนหนึ่งของการพัฒนาประเทศที่ล้มเหลว  ที่ไม่สามารถสร้างความเสมอภาค  ความยุติธรรม  แก่สังคมอย่างทั่วถึง  ฉะนั้น  จึงเป็นโอกาสที่สังคมไทยในขณะนี้  จะต้องทบทวนถึงข้อจำกัดและความผิดพลาดจากการพัฒนาที่ผ่านมาทางหนึ่งถือได้ว่าเป็นการแปรวิกฤตให้เป็นโอกาสเพื่อหาทางเลือกที่เหมาะสมกับสังคมไทย 
    ท่ามกลางภาวะตีบตันทางสังคมและเศรษฐกิจนั้น  แนวคิดหนึ่งได้ถูกเสนอสู่สังคม  ผ่านกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เมื่อปี พ.ศ. 2540  ซึ่งเป็นเสมือนแสงสว่างส่องนำทางให้แก่ประชาชนชาวไทยได้นำกลับไปปรับใช้เพื่อบรรเทาความทุกข์ที่เกิดจากปัญหาที่มีอยู่ในขณะนั้น 
      เศรษฐกิจพอเพียง  จึ่งนับได้ว่าเป็นแนวคิดที่มีคุณค่า  อย่างน้อย  2  นัย ด้วยกัน 
            ประการที่หนึ่ง  เป็นเครื่องเตือนสติให้แก่ชีวิตปวงชนชาวไทยในภาวการณ์เปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิตในกระแสการพัฒนาและยังเป็นการเสนอแนะแนวทางออกจากวิกฤตที่กำลังเผชิญอยู่  โดยประยุกต์เข้ากับภูมิปัญญาของประชาชนอย่างลงตัว 
            ประการที่สอง  แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง  ยังเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในฐานะเป็นแนวคิดทฤษฎี  และเป็นแนวทางในการปฏิบัติ  โดยไม่ได้เฉพาะเจาะจงในกลุ่มเกษตรกรเท่านั้น  หากแต่ครอบคลุมถึงทุกคนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ  ภาคธุรกิจ  เอกชน  หรือประชาชนในส่วนอื่น ๆ  
             ทั้งนี้  แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง  หรือทฤษฎีใหม่  ไม่ใช่สิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่  แต่เป็นสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  คอยเตือนและแนะนำเสมอมา  พระองค์เชื่อมั่นว่าการที่ชุมชน  ท้องถิ่น  สามารถพึ่งตนเองได้นั้น  เป็นทางออกหนึ่งที่จะทำให้ประเทศไทยรอดพ้นวิกฤตนี้ได้ 

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 
มีหลักพิจารณาอยู่  5  ส่วนดังนี้ 

                กรอบแนวคิด  เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่  ควรจะเป็น  โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย  สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลาและเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤตเพื่อ  ความมั่นคง  และความยั่งยืน  ของการพัฒนา 
          คุณลักษณะ  เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับโดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง  และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน  

ดังเป็นเศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นการฟื้นฟูฐานะทางเศรษฐกิจของชุมชน เมือง ประเทศโดยอาศัยหลักการพึ่งตนเอง 5 ประการดังนี้

  • ด้านจิตใจ  ต้องเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้ มีจิตสำนึกที่ดี เอื้ออาทร  ประนีประนอม นึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวม
  • ด้านสังคม  ต้องมีความช่วยเหลือเกื้อกูลกันสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน รู้จักผนึกกำลัง และ   ที่สำคัญมีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากรากฐานที่มั่นคงและแข็งแรง
  • ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดรอบครอบ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด และที่สำคัญใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศ เพื่อพัฒนาประเทศให้มั่นคงอยู่เป็นขั้นเป็นตอนไป
  • ด้านเทคโนโลยี รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมให้สอดคล้องเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมของเราเอง
  • ด้านเศรษฐกิจ  เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิต อย่างพอควร พออยู่ พอกิน สมควรตามอัตภาพและฐานะของตน
         คำนิยาม  ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้
  • ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
  • ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
  • การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง  การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
  เงื่อนไข  การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐานกล่าวคือ
  • เงื่อนไขความรู้  ประกอบด้วย  ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้านความรอบครอบที่จะนำความรู้เหล่านี้มาพิจารณาให้เชื่อมโยงกันเพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
  • เงื่อนไขคุณธรรม  ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรมมีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
  แนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ  จากการนำนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน  พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจสังคม สิ่งแวดล้อม  ความรู้และเทคโนโลยี
.“ถ้าไม่มี เศรษฐกิจพอเพียง เวลาไฟดับ..
จะพังหมดจะทำอย่างไร. ที่ที่ต้องใช้ไฟฟ้าก็ต้องแย่ไป....
...หากมี เศรษฐกิจพอเพียงแบบไม่เต็มที่
ถ้าเรามีเครื่องปั่นไฟ ก็ให้ปั่นไฟ
หรือถ้าขั้นโบราณกว่า มืดก็จุดเทียน
คือมีทางที่จะแก้ปัญหาเสมอ
...ฉะนั้น เศรษฐกิจพอเพียงนี้ก็มีเป็นขั้น ๆ
แต่จะบอกว่า เศรษฐกิจพอเพียงนี้
ให้พอเพียงเฉพาะตัวเองร้องเปอร์เซ็นต์ นี่เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้
จะต้องมีการแลกเปลี่ยน ต้องมีการช่วยกัน
..พอเพียงในทฤษฎีหลวงนี้คือ ให้สามารถที่จะดำเนินงานได้”
                     พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนพรรษา 23  ธันวาคม  2542
หลักแนวความคิดของเศรษฐกิจพอเพียง
การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง  และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบครอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ



วิถีชีวิตและเศรษฐกิจทางสายกลางในทุกระดับ
  1. พอเพียง คือ การบริโภคและการผลิตอยู่บนพื้นฐานของความพอประมาณและเหตุผลไม่ขัดสนแต่ไม่ฟุ่มเฟือย
  2. สมดุล คือ การพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม
    1. มีความสมดุลระหว่างโลกาภิวัฒน์ (Globalization) กับอภิวัฒน์ท้องถิ่น (Local-ization) 
    2. มีความสมดุลระหว่างภาคเศรษฐกิจกับการเงินและภาคคนกับสังคม
    3. มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
    4. โครงสร้างการผลิตที่สมดุลมีการผลิตหลากหลายใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ยั่งยืน  คือพอเพียงอย่างต่อเนื่องในทุกด้านโดยเฉพาะด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  4. ภูมิคุ้มกันที่ดี
    1. ระบบเศรษฐกิจกับสังคมมีความยืดหยุ่นที่สามารถก้าวทันและพร้อมรับต่อกระแสโลกาภิวัตน์ตลอดจนปรับตัวให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
    2. การบริหารจัดการที่ดีซึ่งสามารถป้องกันและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (วิกฤต)ได้

คุณภาพคน 
โดยการที่จะพัฒนาเศรษฐกิจทางสายกลางได้ คนต้องมีคุณภาพในด้านต่างๆ ดังนี้ คือ

  1. พื้นฐานจิตใจ มีความสำนึกในคุณธรรมซื่อสัตย์สุจริต มีไมตรี มีความเมตตาหวังดีให้กันและกัน
  2. หลักการดำเนินชีวิตมีความอดทน มีความเพียรใช้สติปัญญาคิดอย่างรอบคอบก่อนทำ มีวินัย
  3. ภูมิคุ้มกันในการดำรงชีวิต มีสุขภาพดีและมีศักยภาพ ทักษะและความรอบรู้อย่างเหมาะสมในการประกอบอาชีพและหารายได้อย่างมั่นคงและพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้าได้อย่างต่อเนื่อง
ฐานคิดในการพัฒนาเพื่อความพอเพียง
  1. ยึดแนวพระราชดำริในการพัฒนา “เศรษฐกิจพอเพียง” จามขั้นตอน “ทฤษฎีใหม่”
  2. สร้าง “พลังทางสังคม” โดยการประสาน “พลังสร้างสรรค์” ของทุกฝ่ายในลักษณะ “พหุภาคี” อาทิ ภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ ธุรกิจเอกชน สื่อมวลชน ฯลฯ เพื่อใช้ขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาธุรกิจชุมชน
  3. ยึด “พื้นที่” เป็นหลัก และใช้ “องค์กรชุมชน” เป็นศูนย์กลางการพัฒนา ส่วนภาคีอื่นๆ ทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นอำนวยความสะดวก ส่งเสริมสนับสนุน
  4. ใช้ “กิจกรรม” ของชุมชนเป็น “เครื่องมือ” สร้าง “การเรียนรู้” และ “การจัดการ” ร่วมกัน พร้อมทั้งพัฒนา“อาชีพที่หลากหลาย” เพื่อเป็น “ทางเลือก”  ของคนในชุมชน ซึ่งมีความแตกต่างทั้งด้านเพศ วัย การศึกษา ความถนัด ฐานะเศรษฐกิจ ฯลฯ
  5. ส่งเสริม “การรวมกลุ่ม” และ “การสร้างเครือข่าย” องค์กรชุมชน เพื่อสร้าง “คุณธรรม จริยธรรม” และ“การเรียนรู้ที่มีคุณภาพ” อย่างรอบด้าน อาทิ การศึกษา สาธารณสุข การฟื้นฟู วัฒนธรรม การจัดการสิ่งแวดล้อม ฯลฯ 
  6. วิจัยและพัฒนา “ธุรกิจชุมชนครบวงจร” (ผลิต – แปรรูป – ขาย – บริโภค) โดยให้ความสำคัญต่อ “การมีส่วนร่วม” ของคนในชุมชน และ “ฐานทรัพยากรของท้องถิ่น” ควรเริ่มพัฒนาจากวงจรธุรกิจขนาดเล็กในระดับท้องถิ่นไปสู่วงจรธุรกิจที่ใหญ่ขึ้นระดับประเทศและระดับต่างประเทศ
  7. พัฒนาเศรษฐกิจชุมชนที่มี “ศักยภาพสูง” ของแต่ละเครือข่ายให้เป็น “ศูนย์การเรียนรู้ธุรกิจชุมชน” ที่มีข้อมูลข่าวสารธุรกิจนั้นๆ อย่างครบวงจร พร้อมทั้งใช้เป็นสถานที่สำหรับศึกษา ดูงานและฝึกอบรม
การปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพอย่าง

1.จริงจัง ดังพระราชดำรัสว่า  

... ความเป็นอยู่ที่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อ ต้องประหยัดไปในทางที่ถูกต้อง ...
2.ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดำรงชีพ           

ก็ตาม ดังพระราชดำรัสที่ว่า 

… ความเจริญของคนทั้งหลายย่อมเกิดมาจาก การประพฤติชอบและการหาเลี้ยงชีพของตนเป็นหลักสำคัญ ...
3.ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าขายประกอบอาชีพแบบต่อสู

กันอย่างรุนแรงดังอดีต ซึ่งมีพระราชดำรัสเรื่องนี้ว่า 
...ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึงความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรมทั้งในเจตนา และการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น...


4.ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางในชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยากครั้งนี้ โดยต้องขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้เกิดมีรายได้เพิ่มพูนขึ้นจนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ พระราชดำรัสตอนหนึ่งที่ให้ความชัดเจนว่า

...การที่ต้องการให้ทุกคนพยายามที่ จะหาความรู้ และสร้างตนเองให้มั่นคงนี้เพื่อตนเอง เพื่อที่จะให้ตัวเองมีความเป็นอยู่ที่ก้าวหน้า ที่มีความสุข พอมีพอกินเป็นขั้นหนึ่ง และขั้นต่อไป ก็คือให้มีเกียรติว่ายืนได้ด้วยตัวเอง. .



     5.     ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดีลดละสิ่งยั่วกิเลสให้หมดสิ้นไป ทั้งนี้ด้วยสังคมไทยที่ล่มสลายลงในครั้งนี้ เพราะยังมีบุคคลจำนวนมิใช่น้อยที่ดำเนินการโดยปราศจากละอายต่อแผ่นดิน พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราโชวาทว่า

. . . พยายามไม่ก่อความชั่วให้เป็นเครื่องทำลายตัว ทำลายผู้อื่น พยายามลด พยายามละความชั่วที่ตัวเองมีอยู่ พยายามก่อความดีให้แก่ตัวอยู่เสมอ พยายามรักษา และเพิ่มพูนความดีที่มีอยู่นั้น ให้ งอกงามสมบูรณ์ขึ้น. . .
ทรงย้ำเน้นว่าคำสำคัญที่สุดคือ คำว่า "พอ"
ต้องสร้างความพอที่สมเหตุสมผลให้กับตัวเองให้ได้และเราก็จะพบกับความสุข
ทฤษฎีใหม่ 

ที่มาแห่งพระราชดำริ “ทฤษฎีใหม่” 
                หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จเยี่ยมราษฎรที่บ้านกุดตอแก่น ต.กุดสิน คุ้มใหญ่ 
อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2535 ได้ทรงเห็นสภาพความยากลำบากของราษฎรในการทำการเกษตรในพื้นที่อาศัยน้ำฝน (ปลูกข้าวได้ประมาณ 1 ถัง / 1 ไร่) เพาะปลูกได้ปีละครั้งในช่วงฤดูฝนเท่านั้น มีความเสี่ยงในการเสียหายจากความปรวนแปรของดินฟ้าอากาศ และฝนทิ้งช่วง ซึ่งสภาพดังกล่าวคงเป็นสภาพปัญหาของเกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศ แม้ว่าจะมีการขุดบ่อเก็บน้ำไว้บ้างก็มีขนาดไม่แน่นอน 
น้ำใช้ยังไม่พอเพียง รวมทั้งระบบการปลูกพืชไม่มีหลักเกณฑ์และส่วนใหญ่ปลูกพืชชนิดเดียว ด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงทรงศึกษา รวบรวมข้อมูลนำมาวิเคราะห์และได้พระราชทานพระราชริ เพื่อให้สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤตการขาดแคลนน้ำได้โดยไม่เดือดร้อน และยากลำบากนัก พระราชดำรินี้ทรงเรียกว่า “ทฤษฎีใหม่” อันเป็นแนวทางการจัดการที่ดินและน้ำเพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยทรงทดลองเป็นแห่งแรกที่วัดมงคลชัยพัฒนา ตำบลห้วยบง อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี

 การทำเกษตรตามแนวทางทฤษฎีใหม่
เหตุที่เรียกว่า “ทฤษฎีใหม่”
  1. มีการจัดแบ่งที่ดินออกเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์สูงสุดของเกษตรกรรายย่อย                เนื้อที่ถือครองขนาดเล็ก ซึ่งไม่เคยมีใครคิดมาก่อน
  2. มีการคำนวณปริมาณน้ำกักเก็บให้เพียงพอในการเพาะปลูกตลอดปีโดยหลักวิชาการ
  3. มีการวางแผนที่สมบูรณ์แบบโดยมี 3 ขั้น



ทฤษฎีใหม่ขั้นที่หนึ่ง  การจัดสรรที่อยู่อาศัยและทำกิน 
                ให้แบ่งพื้นที่ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วเกษตรกรไทยมีเนื้อที่ถือครองประมาณ 10 – 15 ไร่ต่อครอบครัวออกเป็น 4 ส่วน คือ  แหล่งน้ำ  นาข้าว  พืชผสมผสาน  โครงสร้างพื้นฐานในอัตราส่วน  30:30:30:10  ดังนี้
                1) ส่วนแรก ร้อยละ 30 ให้ขุดสระกักเก็บน้ำในฤดูฝนไว้เพาะปลูกและใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้งได้ตลอดปี ทั้งยังใช้เลี้ยงปลาและปลูกพืชน้ำ พืชริมสระเพื่อบริโภคและเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวอีกางหนึ่งด้วย โดยพระราชทานแนวทางการคำนวณว่าต้องมีน้ำ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อการเพาะปลูก 1 ไร่ โดยประมาณ และบนสระน้ำอาจสร้างเล้าไก่ เล้าหมูได้ด้วย

2) ส่วนที่ 2 ร้อยละ 30 ให้ทำนาข้าว เนื่องจากคนไทยบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก โดยมีเกณฑ์เฉลี่ยเกษตรกรบริโภคข้าวคนละ 200 กิโลกรัมข้าวเปลือกต่อปี เกษตรกรมีครอบครัวละ 3 – 4 คน ดังนั้นควรปลูกข้าว 5 ไร่ ผลผลิตประมาณไร่ละ 30 ถัง ซึ่งเพียงพอต่อการบริโภคตลอดปี เอยึดหลักพึ่งตนเองได้อย่างมีอิสรภาพ
3) ส่วนที่สาม ร้อยละ 30 ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ใช้สอย ไม้ทำเชื้อเพลิง ไม้สร้างบ้าน พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อการบริโภคและใช้สอยอย่างเพียงพอ หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่ายเป็นรายได้ต่อไป
4) ส่วนที่สี่ ร้อยละ 10 เป็นที่อยู่อาศัยและอื่นๆ เช่น ถนน คันดิน ลานตาก กองปุ๋ยหมัก โรงเพาะเห็ด พืชผักสวนครัว เป็นต้น

ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง  
เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ลงมือปฏิบัติตามขั้นที่หนึ่งในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว เกษตรกรก็จะสามารถพัฒนาตนเองไปสู่ขั้นพออยู่พอกิน และตัดค่าใช้จ่ายลงเกือบหมด มีอิสระจากสภาพปัจจัยภายนอกแล้ว ก็ต้องเริ่มขั้นที่สอง คือ ให้เกษตรกรรวมพลังในรูป กลุ่ม หรือ สหกรณ์ ร่วมแรง ร่วมใจกันดำเนินการในด้าน 

(1) การผลิต (พันธุ์พืช เตรียมดิน ชลประทาน ฯลฯ) 
                - เกษตรกรจะต้องร่วมมือในการผลิตโดยเริ่มตั้งแต่ขั้นเตรียมดิน การหาพันธุ์พืช ปุ๋ย การจัดหาน้ำ และอื่นๆ เพื่อการเพาะปลูก 

(2) การตลาด (ลานตากข้าว ยุ้ง เครื่องสีข้าว การจำหน่ายผลผลิต) 
                - เมื่อมีผลผลิตแล้วจะต้องเตรียมการต่างๆ เพื่อการขายผลผลิตให้ได้ประโยชน์สูงสุด เช่น การเตรียมลานตากข้าวร่วมกัน การจัดหายุ้งรวบรวมข้าว เตรียมหาเครื่องสีข้าว ตลอดจนการรวมกันขายผลผลิตให้ได้ราคาดีและลดค่าใช้จ่ายลงด้วย   

(3) การเป็นอยู่ (กะปิ น้ำปลา อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ) 
                - ในขณะเดียวกันเกษตรกรต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร โดยมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น อาหาร การกินต่างๆ กะปิ น้ำปลา เสื้อผ้า ที่พอเพียง 

(4) สวัสดิการ (สาธารณสุข เงินกู้) 
                - แต่ละชุมชนควรมีสวัสดิภาพและบริหารที่จำเป็น เช่น มีสถานีอนามัยเมื่อยามป่วยไข้ หรือมีกองทุนไว้กู้ยืมเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน 

(5) การศึกษา (โรงเรียน ทุนการศึกษา) 
                - ชุมชนควรมีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา เช่น มีกองทุนเพื่อการศึกษาเล่าเรียนให้แก่เยาวชนของชุมชนเอง 

(6) สังคมและศาสนา 
                - ชุมชนควรเป็นที่รวมในการพัฒนาสังคมและจิตใจ โดยมีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยว

กิจกรรมทั้งหมดดังกล่าวข้าวต้น จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่ว่าส่วนราชการ องค์กรเอกชน ตลอดจนสมาชิกในชุมชนนั้นเป็นสำคัญ

ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม  

                                 เมื่อดำเนินการผ่านพ้นขั้นที่สองแล้ว เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรก็ควรพัฒนาก้าวหน้าไปสู่ขั้นที่สามต่อไป คือ ติดต่อประสานงาน เพื่อจัดหาทุน หรือแหล่งเงิน เช่น ธนาคาร หรือบริษัท ห้างร้านเอกชน  มาช่วยในการลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิติ 
ทั้งนี้ ทั้งฝ่ายเกษตรกรและฝ่ายธนาคารหรือบริษัทเอกชน จะได้รับประโยชน์ร่วมกันกล่าวคือ 
                - เกษตรกรขาวข้าวได้ในราคาสูง (ไม่ถูกกดราคา) 
                - ธนาคาร หรือบริษัทเอกชนสามารถซื้อข้าวบริโภคในราคราต่ำ (ซื้อข้าวเปลือกตรงจากเกษตรกรและมาสีเอง) 
                - เกษตรกรซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคในราคาต่ำ เพราะรวมกันซื้อเป็นจำนวนมาก (เป็นร้าน สหกรณ์ ราคาขายส่ง) 
                - ธนาคาร หรือบริษัทเอกชน จะสามารถกระจายบุคลากร เพื่อไปดำเนินการไนกิจกรรมต่างๆ ให้เกิดผลดียิ่งขึ้น


ประโยชน์ของทฤษฎีใหม่ 
จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ได้พระราชทานในโอกาสต่างๆ นั้น พอจะสรุปถึงประโยชน์ของทฤษฎีใหม่ได้ ดังนี้ 
1) ให้ประชาชนพออยู่พอกินสมควรแก่อัตภาพในระดับที่ประหยัด ไม่อดอยากและเลี้ยงตนเองได้ ตามหลักปรัชญาของ “เศรษฐกิจพอเพียง”
2) ในหน้าแล้งมีน้ำน้อย ก็สามารถเอาน้ำที่เก็บไว้ในสระมาปลูกพืชผักต่างๆ ที่ใช้น้ำน้อยได้ โดยไม่ต้องเบียดเบียนชลประทาน 
3) ในปีที่ฝนตกตามฤดูกาลโดยมีน้ำตลอดปี ทฤษฎีใหม่นี้ก็สามารถสร้างรายได้ให้ร่ำรวยขึ้นได้ 
4) ในกรณีที่เกิดอุทกภัยก็สามารถที่จะฟื้นตัว และช่วยตัวเองได้ในระดับหนึ่ง โดยทางราชการไม่ต้องช่วยเหลือมากเกินไป อันเป็นการประหยัดงบประมาณด้วย

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั้นเอง สิ่งก่อสร้างจะอยู่มั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป
พระราชดำรัสในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา  4  ธันวาคม 2541
http://www2.rajsima.ac.th/media/panjai/p2.html
ซอฟแวร์
ซอฟแวร์
ซอฟต์แวร์ (Software) คือ โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ที่จะสั่งและควบคุมให้ฮาร์ดแวร็คอมพิวเตอร์ทำงาน เราไม่สามารถจับต้อง ซอฟต์แวร์ ได้โดยตรงเหมือนกับตัวฮาร์ดแวร์ เพราะซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมนี้จะถูกจัดเก็บอยู่ในสื่อ ที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล เช่น แผ่นดิสก์ ซอฟต์แวร์ ที่มักติดตั้งไว้ในฮาร์ดดิสก์เพื่อทำงานทันที่ที่เปิดเครื่องคือ ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ สรุปแล้ว ซอฟต์แวร์ คือ โปรแกรมชุดคำสั่งไว้ควบคมคอมฯให้ทำงาน

ชนิดของซอฟต์แวร์

1.  ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) คือโปรแกรมที่ใช้ในการควบคุมระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด เช่น การบูตเครื่อง การสำเนาข้อมูล การจัดการระบบของดิสก์ ชุดคำสั่งที่เขียนเป็นคำสั่งสำเร็จรูปโดยผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีมาพร้อมแล้วจากโรงงานผลิต การทำงานหรือการประมวลผลของซอฟต์แวร์เหล่านี้ขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องระบบของซอฟต์แวร์เหล่านี้ออกแบบมาเพื่อการปฏิบัติควบคุม และมีความสามารถในการยืดหยุ่นการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ
- โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System) เป็นโปรแกรมที่ใช้ควบคุมและติดต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะการจัดการระบบของดิสก์ การบริหารหน่วยความจำของระบบ กล่าวโดยสรุปคือ หากจะทำงานใดงานหนึ่งโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการทำงานแล้วจะต้องติดต่อกับซอฟต์แวร์ระบบก่อน ถ้าขาดซอฟต์แวร์ชนิดนี้จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่ โปรแกรมระบบปฏิบัติการ DOS Unix Windows (เวอร์ชั่นต่าง ๆ เช่น 95 98 me 2000 NT) Sun OS/2 Warp Netware และ Linux
- ตัวแปลภาษาจาก Source Code ให้เป็น Object Code (แปลจากภาษาที่มนุษย์ใจให้เป็นภาษาที่เครื่องเข้าใจ เปรียบเสมือนล่ามแปลภาษา) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ คอมไพเลอร์ (Compiler) และอินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) คอมไพเลอร์จะแปลคำสั่งในโปรแกรมทั้งหมดก่อนแล้วทำการลิ้ง (Link) เพื่อให้ได้คำส่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ ส่วนอินเตอร์พีทเตอร์จะแปลทีละประโยคคำสั่งแล้วทำงานตามประโยคคำสั่งนั้น การจะเลือกใช้ตัวแปลภาษาแบบใดนั้นจะขึ้นอยู่กับภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม เช่น ภาษาเบสิก (Basic) ภาษาปาสคาล (Pascal) ภาษาซี (C) ภาษาจาวา (Java) ภาษาโคบอล (Cobol) ภาษา SQL ภาษา HTML เป็นต้น
- ยูทิลิตี้โปรแกรม (Utility Program) คือ ซอฟต์แวร์เสริมช่วยให้เครื่องทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ช่วยในการตรวจสอบดิสก์ ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลในดิสก์ ช่วยสำเนาข้อมูล ช่วยซ่อมอาการชำรุดของดิสก์ ช่วยค้นหาและกำจัดไวรัส ฯลฯ เป็นต้น โปรแกรมในกลุ่มนี้ได้แก่โปรแกรม Norton WinZip Scan virus Sidekick Scandisk Screen Saver ฯลฯ เป็นต้น
- ติดตั้งและปรับปรุงระบบ (Diagonostic Program) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการติดตั้งระบบเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อและใช้งานอุปกรณ์ต่า ๆ ที่นำมาติดตั้งระบบ ได้แก่ โปรแกรม Setup และ Driver ต่าง ๆ เช่น โปรแกรม Setup Windows Setup Microsoft Office โปรแกรม Driver Sound Driver CD-ROM Driver PrinterDRIVER SCANNER ฯลฯ เป็นต้น
2.  ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ถูกจัดทำขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะด้านหรือเฉพาะองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ซอฟต์แวร์ประเภทนี้มักสร้างขึ้นโดยบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่มีความชำนาญด้านนั้น ๆ โดยเฉพาะ หรือออกแบบและสร้างโดยบุคลากรในฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรก็ได้ ต้องมีทีมงานในการดำเนินการวิเคราะห์และออกแบบระบบงานอย่างรอบคอบ เมื่อออบแบบระบบงานใหม่ได้แล้ว จึงลงมือสร้างโปรแกรมจนเสร็จ แล้วทำงการทดสอบโปรแกรมให้สามารถทำงานได้ถูกต้องแน่นอน จนสามารถทำงานได้จริง ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่ ซอฟต์แวร์ด้านงานบุคลากร ซอฟต์แวร์ระบบงานบัญชี ซอฟต์แวร์ระบบสินค้าคงคลัง ซอฟต์แวร์ของการรถไฟ ซอฟต์แวร์ของธุรกิจธนาคาร ซอฟต์แวร์ของธุรกิจประกันภัย ซอฟต์แวร์ของการบินไทย ซอฟต์แวร์บริหารการศึกษาเป็นต้น
3.  โปรแกรมสำเร็จรูป (Package Software) คือ ซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในสำนักงานทั่ว ๆ ไป สร้างโดยบริษัทที่มีความชำนาญในด้านนั้น ๆ โดยเฉพาะมีการปรับปรุงรุ่น (Version) ของซอฟต์แวร์ให้มีประสิทธภาพสูงขึ้นอยู่เสมอ สามารถแบ่งออกเป็นประเภท ตามลักษณะหน้าที่การทำงานได้ดังนี้คือ
- โปรแกรมประมวลผลคำ ใช้สำหรับพิมพ์เอกสารรายงานหรือสร้างตารางแบบต่าง ๆ
- โปรแกรมตารางงาน ใช้สำหรับคำนวณ สร้างกราฟ และจัดการด้านฐานข้อมูล
- โปรแกรมนำเสนอผลงาน ใช้ในการนำเสนอผลงานและนำเสนอข้อมูลในรูแปบบสไลด
- โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล คือ โปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการจัดการฐานข้อมูล
- โปรแกรมเว็บเพจ ใช้ในการเขียนเว็บเพจเพื่อใช้งานในเว็บไซต์ของอินเทอร์เน็ต
- โปรแกรมสื่อสารระยะไกล ใช้ในการติดต่อสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต
- โปรแกรมเขียนแบบ ใช้ในการออกแบบและเขียนแบบด้านต่าง ๆ เช่น ชิ้นงาน อาคาร
- โปรแกรมการฟิกส์ ใช้ในการสร้างและจัดการรูปภาพในคอมพิวเตอร์
- โปรแกรมเพื่อความบันเทิง ได้แก่ เกมส์ ภาพยนต์และเสียงเพลงต่าง ๆ

สรุปแล้ว ซอฟต์แวร์ คือ โปรแกรมชุดคำสั่งไว้ควบคมคอมฯให้ทำงาน นั่นเองครับ
http://www.dekdev.com/ซอฟต์แวร์-software-คืออะไร-2662012/